วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ค้นคว้าวิจัย


วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 

จุดมุ่งหมาย
  การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

กลุ่มตัวอย่าง
  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุ่ 5-6 ปีจำนวน 15 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบหลายขั้นตอน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที


 ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2.ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 

เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า
     เครื่องมือที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 24 แผน และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.66 การดำเนินการทดลองได้แก่แบบแผนการทดลอง One – Group Pretest-Posttest Designและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t – test for Dependent Samples

การดำเนินการทดลอง
       ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบหลายขั้นตอน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที


สรุปการวิจัยพบว่า
     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระกับ .01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17


วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2556
   วันนี้มาเรียนครั้งสุดท้ายก่อนสอบอาจารย์พูดเรื่องบล็อค บอกให้ไปทำมาให้เรียนร้อยแล้วอาจารย์จะตรวจ
อาจารย์ให้สงงานทุกชิ้น และออกไปนำเสนอหน้าห้อง
-ของเล่นวิทยาศาสตร์
-การทดลองวิทยาศาสตร์
-สื่อเข้ามุม  (งานกลุ่ม)

งานของดิฉัน
1.ของเล่น กล่องเทียบเสียง
2 การทดลอง ลูกโป่งน้ำโซดา
3.สื่อเข้ามุม กระดานหก (งานกลุ่ม)


 




 


 


 นำเสนอการทดลอง

                                                        -ผ้าเปลี่ยนสี
                                     -น้ำพุในขวด
                                     -มะนาวตกน้ำ
                                     -ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
                                     -น้ำอัดลมฟองฟู
                                     -พริกไทยหนีน้ำ
                                     -ไข่ลอยไข่จม


 


 


 


อาจารย์ได้แนะนำสิ่งที่พูดไม่ถูก และแนะนำการทดลองว่าการทดลองควรปลอดภัยต่อเด็ก




บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556
      วันนี้เรามาทำอาหารกัน  " ทำข้าวผัด "
-กลุ่มเพื่อนๆที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์ที่แล้ว
-ให้เพื่อนสมมติว่าตัวเองเป็นครู กลุ่มดิฉันและเพื่อนๆกลุ่มอื่นเป็นเด็ก
ให้ให้เพื่อนๆบอกส่วนผสม ขั้นตอนทำอย่างละเอียด และให้เพื่อนกลุ่มอื่นปฏิบัติลงมือทำตาม
และเราก้ได้ทำข้าวผัดไปพร้อมๆกัน 
อาจารย์เบียร์สรุปกิจกรรม



ข้าวผัด













 

เครื่องปรุง
  1. ข้าวสวย (ไม่แฉะ) ¾ ถ้วยตวง
  2. หมูสับ 50 กรัม
  3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 1 แผ่น
  4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ
  5. กระเทียมสับ 8 กลีบ
  6. แครอทหั่นเป็นเส้นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ
  7. มะเขือเทศผ่าตามยาว 1 ลูก
  8. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
  9. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  10. น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
  11. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
  12. ซอสปรุงรสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา
  13. มะนาว 1 ซีก
  14. แตงกวา ต้นหอม ผักชี พริกไทยป่น
(ถ้าบางอย่างไม่มีไม่เป็นไรครับ ใส่อย่างอื่นแทนได้ หรือถ้ามีแค่ข้าวกะไข่ ก็พอกล้อมแกล้มได้เหมือนกัน)

วิธีทำ
1. เริ่มต้นด้วยการตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไปพอเริ่มร้อนใส่กระเทียมสับลงไปเจียวให้เหลือง
2. จากนั้นจึงใส่หมูสับลงไปผัดพอสุกตามด้วยหมูแฮมและหมูยอลงไปผัด
3. เสร็จแล้วใส่ข้าวสวยลงผัดให้ส่วนผสมเข้ากันจึงใส่แครอทและมะเขือเทศลงไปผัด ปรุงด้วยซอสปรุงรส และซีอิ๊วขาวผัดให้เครื่องปรุงเข้ากัน จากนั้นใช้ตะหลิวดันข้าวผัดขึ้นไปอยู่ข้างๆกระทะ เว้นที่ก้นกระทะไว้ตอกไข่ใส่ลงไป ใช้ตะหลิวตีไข่ให้แตก จากนั้นตักข้าวที่อยู่ข้างกระทะกลบทับไข่ไว้ รอจนไข่สุกแล้วจึงช้อนกลับให้ไข่อยู่ด้านบน ใส่น้ำมันหอยลงไปผัดให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง ปิดไฟ
4. ตักใส่จาน จัดเรียงแตงกวาและมะนาวไว้ข้างๆจานเสิร์ฟได้ทันที

เคล็ดลับวิธีทำข้าวผัดให้อร่อย
  • สิ่งสำคัญ ข้าวสวยที่ใช้ผัดต้องไม่แฉะ นอกจากนี้ เมื่อข้าวสุกใหม่ร้อนๆ ควรเกลี่ยใส่ถาด ให้ข้าวเย็นก่อนจึงนำมาผัด ข้าวจะไม่เกาะตัวเป็นก้อน 
  • น้ำมันไม่ควรใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้แฉะและเลี่ยน ไม่น่ากิน 
  • ต้องใช้ไฟกลางในการเจียวกระเทียมจนเหลือง ใส่เครื่องปรุงที่เป็นเนื้อสัตว์ผัดจนสุกก่อน จึงใส่ข้าวผัดให้ทั่ว ถ้าข้าวผัดชนิดใดมีส่วนผสมของไข่ต้องใส่ไข่ทีหลังข้าวพอผัดข้าวจนทั่วเกลี่ย ข้าวไว้อีกด้าน หนึ่งต่อยไข่ใส่กลบข้าวบนไข่พอสุกจึงค่อยผัดไข่ ในขั้นตอนนี้ต้องผัดเร็วๆ ไข่จะเกาะเม็ดข้าวดี และไม่แฉะ เช่น ข้าวผัดปู ข้าวผัดทะเล ข้าวผัดกุ้ง ข้าวผัดหมู ในกรณีที่เป็นข้าวผัดที่นำน้ำพริกมาประยุกต์ คลุกน้ำพริกกับข้าวให้ทั่วก่อน จึงค่อยผัดทีหลังจะทำให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี 
  • “กระทะ” เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการทำข้าวผัดเลยทีเดียว กระทะเหล็กรับความร้อนได้เร็วและดี แต่ข้าวจะติดกระทะ ต้องผัดเร็วๆเหมาะสำหรับแม่ครัวที่ชำนาญในการผัดขัาว เพราะข้าวผัดที่ได้จะมีกลิ่นหอม ถ้าเป็นแม่ครัวมือใหม่ต้องใช้กระทะเทฟล่อน แต่กลิ่นหอมจะสู้ข้าวที่ผัดจากกระทะอะลูมิเนียม กระทะเหล็ก หรือกระทะเหล็กเคลือบไม่ได้ “ตะหลิว” ก็เช่นกันต้องเลือกด้ามที่ติดแน่น ทนความร้อน
  • พวกผักต่างๆนั้น ควรหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าหรือชิ้นเล็กๆ จะช่วยทำให้ข้าวผัดอร่อยกว่าใส่ชิ้นใหญ่ เช่น หอมใหญ่ คะน้า แครอท มะเขือเทศ ต้มหอม หั่นชิ้นเล็ก


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556
 
วันนี้อาจารย์ตฤณ มาสอนแทนอาจารย์จ๋า
    
 อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน ( อ.เบียร์ )

-ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 5 กลุ่ม  เพื่อทำแผน เมนู Cooking 

กลุ่มดิฉันทำ วุ้นมะพร้าวอร่อยเหาะ
-อาจารย์แจกกระดาษให้กลุ่มละ 3 แผ่น
แผ่นที่1 ทำมายแม็ป  อุปกรณ์ ส่วนผสม ประโยชน์
แผ่นที่2 วิธีทำ
แผ่นที่3 เขียนแผนที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับการทำวุ้นมะพร้าว  




























บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2556
 
      วันนี้เรียนชดเชย ของวันที่ 2 กันยายน 2556 ที่อาจารย์ติดประชุม
 
-อาจารย์ให้ส่งสื่อเข้ามุมคนที่เตรียมมา
-อาจารย์บอกข้อแก้ไข และแนะนำสื่อ
-เนื่องจากเพื่อนๆมาน้อย อาจารย์ให้เช็คชื่อ และกลับไปแก้ไขสื่อมาให้สวยงามและเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556
**ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม 
หาเพิ่มเติม

ความหมายของวิทยาศาสตร์
        คำว่า วิทยาศาสตร์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Science" ซึ่งมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า "Scientia" แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้
        ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 1) กล่าวว่า ถ้าจะให้นิยามความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า "ความรู้" ตามความหมายที่แปลมาจากภาษาลาติน ดูเหมือนว่าจะมีความหมายที่สั้นและแคบจนเกินไป เพราะธรรมชาติหรือแก่นสารที่แท้จริงของวิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้หมายถึงความรู้ เนื้อหาวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งหมายความว่าในการเรียนวิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะต้องได้ทั้งตัวความรู้ วิทยาศาสตร์ วิธีการ และเจตคติวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน
        พัชราภรณ์ พสุวัต (2522 : 3) อธิบายว่า วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีเนื้อหาสาระซึ่งเป็นเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้รวบรวมความจริง (facts) เหล่านั้นเพื่อนำมาประมวลเป็นความรู้ (knowledge) และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ (principles) ขึ้น
        ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์. (2534 : 5) ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ว่าหมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องเป็นความจริง จัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบและขั้นตอน สรุปได้เป็นกฎเกณฑ์สากล เป็นความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการที่เริ่มต้นด้วยการสังเกต และ/หรือ การจัดที่เป็นระเบียบมีขั้นตอน และปราศจากอคติ ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมายของ The Columbia Encyclopedia (อ้างถึงใน สมจิต สวธนไพบูลย์ 2535 : 93) ซึ่งอธิบายว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการรวบรวมความรู้อย่างมีระบบ ความรู้ที่ได้รวบรวมไว้นี้เป็นความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ ความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นนั้น มิได้หมายถึงเฉพาะการรวบรวมข้อเท็จจริงเพียงสภาพพลวัต หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและตามสภาพการกระตุ้นจากภายในหรือจากสภาพภาย นอก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการสังเกตธรรมชาติและการวิเคราะห์วิจัย วิทยาศาสตร์จึงเป็นสากลเพราะเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยหลักการเดียวกัน วิทยาศาสตร์จึงไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม
        อีกท่านหนึ่งที่ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้อย่างละเอียดและชัดเจน คือ มังกร ทองสุขดี (ม.ป.ป. : 1-2) ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งมนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าสะสมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และจะศึกษาต่อไปในอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น มนุษย์ได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่า
        1. สิ่งต่าง ๆ มีความเป็นมาอย่างไร
        2. สิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรบ้าง
        3. พัฒนาการของสิ่งเหล่านั้นมีระเบียบแบบแผน หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร และ
จะบังเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร
        4. มนุษย์จะนำความรู้ทั้งหลายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
ยิ่งกว่านั้นวิทยาศาสตร์ยังเป็นความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ทดสอบได้เป็นความรู้ที่มีขอบเขต มีระเบียบ กฎเกณฑ์ เป็นความรู้ที่มีรากฐาน มาจาการสังกต การจดบันทึก การตั้งสมมุติฐาน โดยใช้หลักฐานทางปรัชญา และตรรกศาสตร์ แล้วพยายามวัดหรือหาค่าออกมาทั้งในด้านคุณค่า (นามธรรม) และปริมาณ (รูปธรรม) ถ้าจะเปรียบวิทยาศาสตร์เสมือนต้นไม้ใหญ่แล้วรากแก้วที่สำคัญ 3 ราก คือ วิชาปรัชญา ตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์
พร้อมกันนี้ สุวัฒก์ นิยมค้า (2531 : 105-107) ได้รวบรวมทัศนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความหมายของวิทยาศาสตร์ จากนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้คือ
        1. แนช (Nash) นักเคมีกล่าวว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิถีทางอย่างหนึ่งของการเข้า
ไปสำรวจโลก ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะกระบวนการ
        2. วิกเนอร์ (Wigner) นักฟิสิกส์กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ของ ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ได้สะสมไว้ ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้
        3. บูเบ้ (Bube) นักฟิสิกส์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ของโลกธรรมชาติ
ซึ่งได้มาโดยผ่านการปะทะสังสรรค์กับประสาทสัมผัส ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้กับกระบวนการ โดยเน้นว่า กระบวนการที่ขาดไม่ได้ คือ การสังเกต
        4. ฟิชเชอร์ (Fischer) คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์
วิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอเนีย กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ องค์ของความรู้ ซึ่งได้มาโดยวิธีการวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐาน
        5. สแตฟฟอร์ด และคณะ (Stafford and others) นักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการ ดังนี้ คือ
                5.1 วิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ตรงกับปรากฎการณ์ของ
ธรรมชาติ (วัตถุและเหตุการณ์ที่แวดล้อมเราอยู่) แล้วมีการรวบรวมรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับวัตถุและเหตุการณ์นั้น ๆ
                5.2 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำข้อมูลและการตีความหมาย
ข้อมูลที่ได้
                5.3 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติเป็นคู่แฝด ด้านหนึ่งนั้นเป็นการสะสมความรู้ที่ได้ผ่านการทดลองแล้ว และอีกด้านหนึ่งจะเป็นวิธีการค้นหาความรู้
                5.4 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์
                5.5 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับความพยายาม ที่จะอธิบายปรากฎการณ์ที่
เกิดขึ้น หรืออธิบายกฎเกณฑ์ที่ได้จากปรากฎการณ์นั้น รวมทั้งการขยายความรู้ให้กว้างออกไปเลยจากประสบการณ์ที่ได้รับ
                5.6 ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับเพิ่มนั้น มีลักษณะสืบต่อจากความรู้เก่าที่มี
คนค้นพบไว้แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนใหม่ จะอาศัยความรู้และความคิดของนักวิทยาศาสตร์คนก่อน ๆ เป็นบันไดก้าวไปหาความรู้ใหม่ต่อไป
        6. จาคอบสันและเบอร์กแมน (Jacobson & Bergman) ได้อธิบายธรรมชาติและ
โครงสร้างของวิทยาศาสตร์ว่า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
                6.1 ส่วนที่เป็นความจริงพื้นฐาน ที่ไม่ต้องพิสูจน์ (assumptions in science)
                6.2 ส่วนที่เป็นวิธีการ และกระบวนการวิทยาศาสตร์ (methods and
processes of science)
                6.3 ส่วนที่เป็นตัวความรู้ (broad generalizations of science)

จากการที่มีผู้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้หลากหลายสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้ คือ
        1. จากความหมายของรากศัพท์ของวิทยาศาสตร์ จากภาษาลาติน หมายถึง
องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน
        2. จากการวิเคราะห์ประวัติการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัวความรู้ของธรรมชาติที่ค้นพบกับส่วนที่เป็นวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นมา
        3. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ จะมี 3 ประเด็น คือ
                3.1 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของ
ธรรมชาติ
                3.2 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ธรรมชาติ
                3.3 มองวิทยาศาสตรเป็นทั้งองค์ความรู้ของธรรมชาติ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ
        4. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้น วิทยา
ศาสตร์มีลักษณะเป็น 2 มิติ ควบคู่กันไป คือ มิติทางด้านองค์ความรู้ของธรรมชาติ และ มิติทางด้านกระบวนการที่ใช้สืบเสาะหาความรู้นั้น
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
**เนื่องจากอาจารย์ให้เข้าร่วมงานเกษียณของคณะใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์


*หาความรู้เพิ่มเติม*

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

             สื่อการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน มีหน้าที่เป็นตัวนำ ความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการสอนได้อย่างถูก ต้อง เหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อสื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน วัสดุการสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา เป็นต้น
สื่อ การสอนวิทยาศาสตร์ หรือสื่อในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เนื้อหา ที่เป็นความรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ชนิดของสื่อการสอน
             สื่อ การสอนที่ใช้ในการสอนมีหลายชนิดสำหรับเด็กปฐมวัยอาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการ นับว่าเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ได้แก่
             1. ครู
ครูเป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ใน การเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
             2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ครูหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เพียง แต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
             3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่
ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ
นอกเหนือจากนี้ สื่อดังกล่าวอาจแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้เป็น ประเภทคือ
             1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น ภาพ เปลือกหอย ฯลฯ
             2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ เช่น วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
             3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม เช่น การสาธิต การทดลอง เกม
บทบาทสมมติ ฯลฯ
การจัดหาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
             ก่อน ที่ครูปฐมวัยจะจัดสื่อการสอนนั้นควรคำนึงถึงสื่อที่อยู่ใกล้ตัวก่อน ซึ่งอาจเป็นสื่อของจริงชนิดต่าง ๆ หรือสื่อสำเร็จรูป ได้แก่ ตุ๊กตา หุ่นจำลอง แล้วจึงคิดต่อไปว่าสื่อชนิดใดจะจัดทำขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ประหยัดวัตถุดิบ ประหยัดเวลาและแรงงาน ได้ผลคุ้มค่า และใช้ประโยชน์ได้ตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะไม่สวยงามเท่ากับสื่อที่จัดทำขึ้นด้วยเครื่องจักรซึ่งมี ความประณีตงดงามก็ตาม และที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าครูสามารถผลิตสื่อได้เองก็จะเป็นการดี ไม่ต้องรองบประมาณในการจัดซื้อ
ครู ปฐมวัยต้องจัดหาและรวบรวมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นครูควรจะทราบถึงแหล่งของวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการที่จะได้สื่อ วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมา
แหล่งสื่อที่ครูสามารถรวบรวมได้ ได้แก่
             1 พ่อ แม่และผู้ปกครองของเด็ก พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากที่ได้สะสมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ไว้มาก เช่น เขาได้ไปเที่ยวทะเลมาเขาก็สะสมเปลือกหอยต่าง ๆ ไว้ ถ้าทางโรงเรียนได้บอกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ ผู้ปกครองเด็กมีความยินดีที่จะบริจาคให้ หรือผู้ปกครองบางคนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่ เขาอาจจะบริจาคเป็นเงินเพื่อให้ซื้อก็ได้ หรือบางคนอาจจะให้ยืมมาใช้
             2 บุคคล ต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ เจ้าของร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน บุคคลเหล่านี้จำนวนมากต้องการช่วยเหลือโรงเรียนอยู่แล้ว ถ้าโรงเรียนแจ้งความจำนง
             3 ซื้อจากร้านค้า ซึ่งอาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าที่เป็นของคุรุสภาหรือของเอกชนทั่ว ๆ ไป
             4 ประดิษฐ์ ขึ้นเอง ทางโรงเรียนอาจจะทำขึ้นมาเอง หรือเชิญคนในชุมชนที่มีความสามารถร่วมกันจัดทำ โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ในการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
ความ ปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาให้เด็กใช้ต้องปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ เช่น ไม่มีคมที่อาจบาดมือเด็กได้ หรือสีที่ใช้ต้องไม่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เป็นต้น
ความเหมาะสม วัสดุอุปกรณ์ทึ่จัดหามานั้นต้องมีขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กสามารถหยิบใช้ได้เอง นอกจากนั้นยังต้องเหมาะสมกับเรื่องที่สอนด้วย
ราคาถูก ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินซื้อหรือซื้อก็ใช้เงินเพียงเล็กน้อย
สะดวกในการขนย้ายและเก็บรักษา
พยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ต้นไม้ อากาศ ไอน้ำ ฯลฯ
ใน สภาพปัจจุบัน โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดซื้อ จัดหาสื่อการสอนและของเล่นเด็กได้ครบถ้วนทุกประการ ทั้งนี้ครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนทักษะ การคิดค้น ประดิษฐ์ สะสมวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ที่พอจะหาได้ในท้องถิ่น เช่น ขวดพลาสติก จุกขวดฝาน้ำอัดลม กระป๋องนม เศษผ้า เศษไม้ กล่องกระดาษ ลังกระดาษ เมล็ดพืช ใบไม้ ดอกไม้ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ หาได้จากเด็ก ๆ ในโรงเรียน เพื่อนครู เพื่อนบ้าน ครูปฐมวัยควรฝึกการชอบสะสมเศษวัสดุเพื่อนำมาผลิตเป็นสื่อ
การใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
             ใน แต่ละวันที่จัดกิจกรรมให้เด็ก กิจกรรมนั้นควรมีสื่อเป็นเครื่องมือชักนำให้เด็กมีความสนใจในแต่ละกิจกรรม นั้น ๆ นานพอสมควร วิธีการใช้สื่อ โดยพิจารณาจากกิจกรรมจะขอกล่าวถึงกิจกรรมในวงกลมหรือกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นตัวอย่างของการใช้สื่อเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของเด็ก โดยนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พร้อมทั้งสื่อเสนอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
             1. กิจกรรมทายเสียงสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักธรรมชาติเกี่ยวกับสัตว์
กิจกรรมและสื่อ ครูทำเสียงสัตว์ต่าง ๆ ให้เด็กทาย การทายนี้อาจจะให้เด็ก
ตอบปากเปล่าหรือใช้ภาพสัตว์ หรือชูภาพสัตว์ที่ครูทำไว้ ชู
ให้ครูและเพื่อน ๆ ดู
             2. กิจกรรมทายกลิ่น
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูลองหาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ
ผิวส้ม กะปิ ใบตะไคร้ ใบเตย ฯลฯ เท่าที่พอจะหาได้ให้
เด็กได้มีโอกาสดมและรู้จักจนแน่ใจ
             2) ใช้ผ้าปิดตาผู้ที่จะทาย แล้วให้ผู้นั้นมีโอกาสเพียงดมกลิ่น
สิ่งต่าง ๆ ที่ละอย่าง แล้วตอบว่าแต่ละอย่างคือสิ่งใดบ้าง
             3. กิจกรรมชิมรส
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูนำสิ่งที่เด็กจะรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย เช่น
เกลือ น้ำตาล มะนาว มะระ ฯลฯ มาให้เด็กมีโอกาสเห็น
และชิม
             2) ใช้ผ้าปิดตาผู้เป็นอาสาสมัครแล้วให้ชิมสิ่งต่าง ๆ แล้วให้
ทายว่าสิ่งนั้นคืออะไร
             4. กิจกรรมหลับตาคลำสิ่งของ
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะเด่นชัดของสิ่งของต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูให้เด็กได้สัมผัสของเล่นหรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น ผลไม้
ดอกไม้
             2) ปิดตาอาสาสมัคร แล้วให้สัมผัสของแต่ละชนิดแล้วทาย
ว่าคืออะไร
             5. กิจกรรมบอกส่วนต่าง ๆ ของพืช
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนต่าง ๆ ของพืช
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูนำพืชที่มีส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ เช่น ราก ใบ ดอก
ผล มาให้เด็กพิจารณา และแนะนำส่วนสำคัญเหล่านั้น
             2) ครูให้เด็กชี้บอกส่วนต่าง ๆ ตามครูบอกชื่อหรือใน
ทำนองกลับกัน ให้ครูเป็นฝ่ายชี้ให้เด็กบอกว่าส่วนของ
พืชที่ครูชี้นั้นเรียกว่าอะไร
             6. กิจกรรมจับคู่แม่ลูก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของสัตว์เมื่อยังตัวเล็ก-โต
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูจัดทำภาพลูกสัตว์กับพ่อหรือแม่ของสัตว์ต่าง ๆ เหล่า 
นั้น เป็นคู่ ๆ
             2) นำภาพเหล่านั้นคว่ำลงปนกัน แล้วให้เด็กแข่งขันกัน
เลือกให้เข้าคู่เป็นคู่ ๆ
             7. กิจกรรมแยกประเภทสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักแบ่งประเภทของสัตว์อย่างง่าย ๆ
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูจัดทำภาพสัตว์หลาย ๆ ชนิดที่เด็กรู้จักแล้ว แนะนำว่า
สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ป่า
             2) ให้เด็กแยกประเภทสัตว์ไปตั้งกับฉากที่จัดทำไว้เป็น 2
แบบ คือ ฉากป่า กับฉากบ้าน
             8. กิจกรรมเกมสัตว์เลี้ยง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อสัตว์ชนิดต่าง ๆ มากขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
             1) ให้เด็กแต่ละคนบอกชื่อสัตว์มาคนละชนิด และจำไว้ว่าตัวเองคือสัตว์ชนิดใด
             2) จัดเด็กนั่งล้อมกันเป็นวงกลม โดยให้มีจำนวนเก้าอี้น้อย
กว่าผู้เล่น คน ดังนั้นจะมีผู้เล่นซึ่งจะเป็นถามกลางวง 1
คน ผู้ถามจะถามใครก่อนก็ได้ “เธอรักสัตว์ต่าง ๆ ไหม” ถ้า
ผู้ถูกถามตอบว่า รัก” ทุกคนรวมทั้งผู้ถามและผู้ถูกถามจะ
ต้องรีบลุกขึ้นเปลี่ยนที่นั่งซึ่งย่อมจะมีผู้ที่ไม่มีที่นั่งเหลืออยู่
คนหนึ่งเป็นคนถาม เมื่อมีการถามว่า เธอรักสัตว์ต่าง ๆ
ไหม” และถ้าผู้ตอบตอบเช่นเดิม ทุกคนก็จะต้องลุกขึ้น
เปลี่ยนอีกที แต่ถ้าผู้ตอบคนใดตอบว่า ไม่รัก” ผู้ถามจะต้อง
ซักต่อไปว่า ไม่รักแมว ลิง หมา” ทุกคนที่สมมติตัวอย่าง
ว่าเป็นสัตว์เหล่านั้น ก็จะต้องลุกขึ้นเปลี่ยนที่และจะมีผู้ที่ไม่
มีที่นั่งเหลืออยู่ต่อไป (เกมนี้ครูควรจัดทำหน้ากากเป็นรูป
สัตว์ต่าง ๆ แจกให้เด็กแต่ละคนสวมด้วย เพื่อทุกคนจะได้
เห็นว่าเพื่อน ๆ ที่ร่วมแสดงนั้นเล่นเป็นตัวแทนสัตว์ชนิดใด
บ้าง
             9. กิจกรรมลอกและพิมพ์เส้นใบของใบไม้
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นลักษณะของใบไม้ที่แตกต่างกันออกไป
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูนำใบไม้ชนิดต่าง ๆ กระดาษขาว สีเทียนมาเตรียมเป็น
สื่อสำหรับเด็ก
             2) เปิดโอกาสให้เด็กลอกเส้นของใบไม้ โดยการใช้กระดาษ
ทาบลงบนใบไม้ แล้วถูด้วยสีเทียน ลายเส้นของใบไม้จะ
ปรากฏขึ้นมาอย่างเห็นชัดเจน
             10. กิจกรรมเลือกอาหารสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้มีพื้นฐานในการเลี้ยงดูสัตว์
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูสนทนากับนักเรียน เรืองสัตว์ชนิดต่าง ๆ แล้วอภิปราย
เกี่ยวกับอาหารสัตว์แต่ละชนิดชอบกิน
             2) ครูจัดทำภาพอาหารสัตว์ชนิดต่าง ๆ และภาพสัตว์มาเพื่อ
ให้นักเรียนจับคู่โดยการโยงเส้น หรือใช้ริบบิ้นตัดโยง
ภาพสัตว์และอาหารที่สัตว์แต่ละชนิดชอบ
             11. กิจกรรมสำรวจอ่างปลา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตเกี่ยวกับพืช สัตว์ และสิ่งที่ไม่มีชีวิตกิจกรรมและสื่อ
             1) ครูให้นักเรียนมีโอกาสไปดูอ่างเลี้ยงปลาอย่างใกล้ ๆ เพื่อ
ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในอ่างเลี้ยงปลานั้น
             2) ครูถามนักเรียนด้วยคำถามง่าย ๆ เช่น มีสัตว์ชนิดใดบ้าง
ในอ่าง มีพืชชนิดใด และมีสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่พืชหรือสัตว์
             12. กิจกรรมทายรอยเท้าสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะของรอยเท้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
             1) ครูให้นักเรียนล้างเท้า แล้วเดินบนพื้นให้เป็นรอยเท้าของ
ตนเอง
             2) ครูนำสัตว์บางชนิดที่หาง่าย เช่น สุนัข แมว มาพิมพ์รอย
เท้าของสัตว์เหล่านี้บนกระดาษขาว ให้เด็กได้สังเกต ต่อ
จากนั้นจึงดำเนินกิจกรรมทายรอยเท้าของสัตว์อื่น ๆ ต่อ
ไป โดยอาจจะต้องหาโอกาสนให้เด็กได้เห็นสัตว์หรือ
ภาพสัตว์ชนิดนั้นก่อน
             13. กิจกรรมรุ้งกินน้ำจำลอง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดรู้งกินน้ำ
กิจกรรมและสื่อ ครูหรือนักเรียนอาจทำรุ้งกินน้ำเอง โดยการอมน้ำไว้ในปาก
แล้วพ่นพานแสงแดดที่ส่องผ่านช่องลม หรือรอยแตกของ
ผนัง ซึ่งภายในห้องมืดจะเห็นลักษณะของรุ้งกินน้ำ เกิดขึ้น
ชั่วครู่หนึ่ง หากไม่ใช้วิธีอมน้ำพ่น อาจใช้กระบอกฉีดน้ำที่
ใช้พรมผ้าในขณะรีดผ้าแทนก็ได้
             14. กิจกรรมแยกพวกสารแม่เหล็ก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของแม่เหล็ก
กิจกรรมและสื่อ ครูนำของหลาย ๆ ชนิดใส่ไว้บนถาดหรือวางบนโต๊ะ แล้ว
ให้เด็กลองใช้แม่เหล็กเข้าไปใกล้ ๆ ของแต่ละอย่าง แล้ว
แยกว่าของชนิดใดที่ดูดติดกับแม่เหล็กก็ไว้พวกหนึ่ง พวกที่
ไม่ติดแม่เหล็กไว้อีกพวกหนึ่ง
             15. กิจกรรมเกมเหยียบเงา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
กิจกรรมและสื่อ ในตอนเช้าหรือบ่ายแดดอ่อนพอที่จะทำให้เกิดเงาที่มองเห็น
ได้ ครูอาจพานักเรียนมาเล่นเหยียบเงากัน โดยใครถูกคนอื่นเหยียบเงา ก็จะแพ้ต้องออกจากวงไป ทั้งนี้นอกจากจะได้รับความสนุกสนาน ได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้เห็นว่าเงาเกิดจากการที่ตัวเอง (ทึบแสง) กั้นแสงสว่างไว้
การจัดเก็บสื่อวิทยาศาสตร์
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ควรมีการจัดเก็บดังนี้
การเก็บวัสดุอุปกรณ์ควรวางไว้บนชั้นที่ต่ำ เด็กสามารถหยิบยกด้วนตนเองได้
วัสดุ อุปกรณ์ใดที่จะต้องนำมาใช้ในเรื่องเดียวกัน ควรเก็บไว้ในกล่องเดียวกัน กล่องที่จะนำมาบรรจุวัสดุอุปกรณ์ควรเป็นกล่องเล็ก ถ้าใช้กล่องใหญ่เด็กอาจไม่สามารถยกได้และอาจตกลงมาทับเด็ก
การจัดวัสดุอุปกรณ์ต้องจัดเพื่อยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจในการที่จะเอาออกมาทำกิจกรรม
หมั่นตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งใดชำรุดควรซ่อมแซม หรือไม่นำมาใช้
ใช้ ระบบสัญลักษณ์มาช่วยในการจัดประเภทวัสดุ ไม่ควรใช้ตัวหนังสือเพราะเด็กยังอ่านไม่ออก เช่นใช้สีเป็นเครื่องหมายบอกหมวดหมู่เพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น หรือใช้ภาพ
ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
          
  1. ช่วยให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเด็กได้เห็น ได้ทดลองและได้ทำด้วยตนเอง
             2. ช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกินความสามารถของเด็ก
             3. ช่วยให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจแก่เด็กยิ่งขึ้น อันเป็นเครื่องยั่วยุให้เด็กเกิดความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี
             4. ช่วย ให้เด็กเห็นบทเรียนต่อเนื่องกัน เกิดความคิดและเข้าใจได้ง่าย เช่น ดูภาพยนตร์หรือภาพพลิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของแมลง เห็นความเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ
             5. ช่วยให้จัดกิจกรรมให้เด็กร่วมในบทเรียนง่ายเข้า
             6. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานและมากขึ้น
             7. ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนเพราะเด็กเรียนด้วยความสนุกสนานและ
เข้าใจ
ตัวอย่างสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
            
 ใน ชั้นปฐมวัยไม่ได้สอนเป็นรายวิชา เป็นการเตรียมความพร้อมโดยนำเอาวิชาต่าง ๆ มาบูรณาการเป็นหน่วย และสอดแทรกวิธีสอนแบบเรียนปนเล่นด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นสื่อการสอนหากจัดโดยยึดตามรายวิชาแล้ว สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสื่อที่พบหาได้จากธรรมชาติ หรือครูสามารถประดิษฐ์ขึ้นมาได้เอง ตัวอย่างเช่น
             1. ของจริง
ของจริง ได้แก่ วัตถุ (คน พืช สัตว์ สิ่งของ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ) สถานการณ์จริง
ปรากฏการณ์ จริง เป็นสื่อการสอนที่ใช้มากที่สุดในระดับปฐมวัย เนื่องจากเป็นสื่อที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม และเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ด้าน ของตนเอง ในสภาพการณ์จริง สื่อชนิดนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เพราะเด็กต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อม ต้องการที่จะสัมผัสแตะต้อง ได้เห็น ได้ยิน ได้ชิม หรือได้ดมด้วยตนเอง
ตัวอย่าง สื่อของจริง เช่น ดอกไม้จริง ดินชนิดต่าง ๆ ก้อนหิน ต้นไม้ ฯลฯ
             2. ของจำลอง และสถานการณ์จำลอง
เป็นสื่อที่ใกล้เคียงของจริงหรือสถานการณ์จริงมากที่สุด ในบางครั้งประสบการณ์ตรง
นั้น ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ หรืออาจเป็นอันตราย หรือของจริงอาจมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน อยู่ไกลเกินกว่าที่จะนำมาศึกษาได้ จึงต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงที่สุด เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และเข้าใจได้ง่าย
ตัวอย่าง สื่อของจำลอง เช่น ผลไม้จำลอง หุ่นจำลองต่าง ๆ
             3. ภาพ บัตรภาพ ภาพชุด และแผนภูมิ
ภาพ บัตรภาพ หรือภาพชุด แผนภูมิที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ นำมาใช้
ประกอบ การสอนของครูในการให้แนวคิดต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อครูสอนแนวคิดอะไรก็นำภาพ บัตรภาพ ภาพชุด หรือแผนภูมินั้นให้เด็กดู เด็กจะเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้
ตัวอย่าง สื่อภาพ บัตรภาพ ภาพชุด และแผนภูมิ เช่น ภาพรุ้งกินน้ำ บัตรภาพแมลง
ภาพชุดดอกไม้ แผนภูมิส่วนประกอบของต้นไม้ ฯลฯ

             4. หนังสือภาพ และหนังสือส่งเสริมการอ่าน
หนังสือภาพและหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องและภาพ เป็นสื่อสำหรับให้เด็ก
เรียนรู้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดหาได้ง่าย การใช้หนังสือภาพอาจทำได้ดังนี้
จัด มุมหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยสามารถหยิบและเปิดขึ้นดูเอง ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็นในภาพ และโยงกับสิ่งที่ตนเห็นในชีวิตประจำวัน หนังสือภาพที่จะให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ หนังสือภาพสัตว์เลี้ยง แม้เด็กปฐมวัยส่วนมากจะยังอ่านหนังสือไม่ได้ แต่ดการดูภาพก็จะช่วยให้ความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์แก่เด็กได้เป็น อย่างดี
ใช้ ประกอบการสอนของครู เป็นการใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่องนิทาน หรือการใช้แนวคิดทางธรรมชาติวิทยาแก่เด็กปฐมวัย หนังสือภาพที่ใช้อาจเป็นชุดเดียวที่จัดไว้ในมุมหนังสือ ครูจะช่วยอ่านบทสนทนาของตัวละครหรือคำบรรยายให้นักเรียนฟังเป็นการเพิ่มประสบการณ์แก่เด็กอีกทางหนึ่งด้วย
ใช้ประกอบการแสดงออกของเด็กปฐมวัย ในกรณีที่เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ขวบ ครูอาจให้นักเรียนเล่าเรื่องจากหนังสือภาพให้เพื่อนนักเรียนฟังเป็นการ กระตุ้นความสามารถในการแสดงออก และฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อที่จะนำมาเล่าให้เพื่อนฟัง ประกอบหนังสือภาพอีกด้วย
ตัวอย่างสื่อหนังสือภาพ และหนังสือส่งเสริมการอ่าน เช่น หนังสือภาพสัตว์เลี้ยง หนังสือนิทาน ฯลฯ
             5. โสตทัศนุปกรณ์
อุปกรณ์ เหล่านี้ใช้ได้เฉพาะโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านงบประมาณที่จะสามารถจัดหา เครื่องฉาย เครื่องเสียง วีดิทัศน์ ฯลฯ ได้ สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่มีความพร้อมด้านนี้ ก็อาจใช้สื่ออื่นทดแทนได้ อุปกรณ์เหล่านี้จะให้ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยในลักษณะต่าง ๆ อาทิ
เครื่องเสียง ช่วยให้นักเรียนได้ยินเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงคนและสัตว์ เป็นต้น
เครื่องฉายสไลด์ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพธรรมชาติต่าง ๆ ได้พร้อมกัน
เครื่องฉายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ช่วยให้นักเรียนได้เห็นภาพการเคลื่อนไหว และได้ยินเสียงปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ
             6. การสาธิตและการทดลองง่าย ๆ
การ สาธิต และการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กปฐมวัยได้รู้จักสังเกต และคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอน และแสวงหาความรู้และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูสาธิตสิ่งที่ต้องการให้เด็กเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ ให้เด็กได้สังเกต ซักถาม และสรุป พร้อมกับให้เด็กมีโอกาสทดลองสิ่งที่ครูสาธิตหรือเรื่องที่เป็นพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง สื่อการสาธิตและการทดลองง่าย ๆ เช่น
การ เล่นบ่อทราย เด็กจะได้เรียนรู้จากการสัมผัสความนุ่มนวล ความสาก ฯลฯ ของทราย เรียนรู้ว่า เมื่อเป่าทรายจะกระจาย เมื่อเอาน้ำเทลงไปทรายจะจับตัวเป็นก้อน เรียนรู้ส่วนผสมของทราย รวมทั้งสังเกตชีวิตสัตว์เล็ก ๆ ที่อาจมองเห็นในทราย
การเล่นน้ำ เด็กจะเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่างจากการเล่นน้ำ ดังนั้นจึงต้องจัดอ่างน้ำและภาชนะให้เด็กได้มีโอกาสเล่นตัก ตวง เอามือแกว่งไกว วิดน้ำ หรือสังเกตสิ่งที่อยู่ในน้ำ เป็นต้น
กรง แมลง การดักจับแมลงเป็นสิ่งที่เด็กชอบมาก ครูอาจสอนวิธีจับแมลงโดยการจับมาเพื่อการศึกษา สังเกต มิใช่การทำลายชีวิต แมลงที่เด็ก ๆ สนใจ เช่น แมลงเต่าทอง ผีเสื้อ ตั๊กแตน การจับควรจับด้วยสวิงดักแมลง เมื่อดักได้ให้ค่อย ๆ เก็บใส่กรงสำหรับแมลง ซึ่งหมายถึงบ้าน
ชั่วคราวของแมลง เมื่อสังเกตและศึกษาในระยะเวลาหนึ่งแล้วให้ปล่อยแมลงเหล่านั้นไป
กรงแมลงอาจทำจากกระป๋องพลาสติกที่ตัดหัวท้ายให้ยาวขนาด นิ้ว แล้วหุ้มท้ายด้วยผ้าโปร่งบางมัดด้วยเชือกพลาสติก ส่วนด้านบนให้มีผ้าที่ปิดเปิดได้ อาจใส่ใบไม้หรือพืชต้นเล็ก ๆ ไว้ในขวด เพื่อให้แมลงรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในธรรมชาติ
มด เป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่เด็ก ๆ สนใจอยากรู้ ลองนำขวดปากกว้างมาตักทรายหรือดินที่มีรังมดอยู่ใส่ลงไปแล้วหุ้มรอบ ๆ ขวดด้วยผ้าหรือกระดาษสีดำ ใส่น้ำหวาน หรือเศษอาหารลงไปในขวด ปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ถอดผ้าที่หุ้มออก จะเห็นมดในขวดกำลังสร้างอาณาจักรอยู่ภายในนั้น เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับเด็ก
กรง สัตว์ กรงสัตว์สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ลังหรือกล่องบรรจุผลไม้นำมาหุ้มด้านบนด้วยลวด ส่วนด้านล่างรองด้วยถาดสังกะสี ลังนี้ทำเป็นบ้านกระต่ายหรือสัตว์เล็ก ๆ อื่น เช่น กระแต กระรอก หนู ลูกไก่ ฯลฯ อาจใส่ทรายชื้น ๆ และต้นไม้นุ่ม ๆ สำหรับเป็นกรงเลี้ยงกบหรือคางคกหรือกิ้งก่า ถ้าเป็นสัตว์บางอย่าง เช่น เต่า อาจจะต้องใส่ก้อนหินและน้ำ กรงสัตว์นี้เป็นบ้านชั่วคราวของสัตว์เพื่อให้เด็กได้สังเกต มิใช่เป็นกรงสำหรับขังสัตว์ เมื่อศึกษาแล้วให้ปล่อยสัตว์ไปอยู่ตามธรรมชาติต่อไป
ตาชั่ง สำหรับเด็ก ๆ แล้วตาชั่วที่ใช้เป็นเพียงตาชั่งสำหรับวัดความสมดุล คือ ตาชั่งสองแขน ซึ่งทำได้ง่าย ๆ โดยใช้แกนไม้ตั้งบนฐานแท่นไม้ ใช้ที่แขวนเสื้อชนิดทำด้วยไม้แขวนติดกับหมุดเล็ก ๆ ที่ปลายของไม้แขวนเสื้อห้อยด้วยกล่องนม เด็กจะใช้ชั่วของเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อดูความสมดุลหรือดูว่าอะไรหนักกว่าอะไร
กระถาง ต้นไม้ เด็ก ๆ ชอบสะสมเมล็ดชนิดต่าง ๆ นอกจากการเก็บเมล็ดผลไม้ใส่กล่องไว้ให้เด็กได้สังเกตเรื่องของขนาด รูปร่าง และสีแล้ว เมล็ดเหล่านี้อาจจะนำมาทดลองเพาะ การเพาะลงในกระถางจะทำให้เด็กได้มีโอกาสสังเกตการเจริญของเมล็ดได้อย่างใกล้ ชิด กระถางพืชนี้อาจจะเป็นกระถางดินหรือดัดแปลงมาจากวัสดุเหลือใช้ เช่น กระป๋องต่าง ๆ แก้ว เหยือก ภาชนะพลาสติกต่าง ๆ ถ้าเป็นที่เพาะเมล็ดพืชขนาดใหญ่อาจใช้ลังไม้รองด้วยอลูมิเนียม เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่เปียกออกมาด้านนอก
กรง นก นอกจากจะมีการนำแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ชนิดต่าง ๆ มาให้เด็กได้ศึกษาในห้องเรียนแล้ว ครูสามารถที่จะนำนักเรียนออกไปศึกษาสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เช่น ชีวิตนก ฉะนั้น อาจมีการทำกรงนกหรือบ้านนกชนิดต่าง ๆ ไว้ในบริเวณรอบนอกอาคาร ตามต้นไม้หรือชายคา บ้านนกอาจจะทำด้วยไม้ ทำด้วยกาบมะพร้าวทั้งลูกมัดด้วยลวดหรือรังนกกระจาบ มีอาหารนกไว้ให้สำหรับเด็กได้ใช้เลี้ยงนก
กล่อง วิทยาศาสตร์ ควรสะสมกล่องเปล่าสำหรับใส่ชุดวิทยาศาสตร์ อาจจะเป็นกล่องขนมปังที่เป็นโลหะหรือกล่องพลาสติก แต่ละกล่องจะบรรจุวัสดุสำหรับการทดลองแต่ละอย่าง เช่น กล่องที่จะทดลองเรื่องลอย-จม ในกล่องจะมีวัสดุสำหรับการทดลองในเรื่องดังกล่าว เช่น ลูกโป่ง ลูกแก้ว เศษไม้ ฟองน้ำ เม็ดโฟม หน้ากล่องเขียนชื่อติดไว้ เวลานำมาใช้จะได้สะดวกในการค้นหา นอกจากนี้ กล่องที่บรรจุวัสดุอุปกรณ์สำหรับสอนความคิดรวบยอดแต่ละเรื่องแล้ว อาจจะเป็นกล่องที่บรรจุเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก กระจกเงา ลวด เปลือกหอย เข็มทิศ นาฬิกา ฯลฯ
การ ปรุงอาหาร กิจกรรมการปรุงอาหาร เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กายภาพ เพราะเด็กจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารได้ง่าย เช่น การละลาย การทำให้อ่อนตัว การเปลี่ยนรูปทรงและสีอาหาร ไม่จำเป็นจะต้องปรุงให้สุกเพียงการผสมเครื่องปรุงก็เป็นประสบการณ์การเรียน รู้อย่างหนึ่ง

             7. นิทาน
การเล่านิทานเป็นการเล่าเรื่องต่าง ๆ โดยการใช้หนังสือภาพ หนังสือนิทาน หุ่นต่าง ๆ
หรือ แสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง โดยครูเลือกนิทานที่เหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความต้องการของเด็ก เล่าให้เด็กฟังโดยอ่านจากหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์ประกอบ พร้อมกับให้เด็กได้สนทนา อภิปราย และแสดงความคิดเห็นจากนิทาน
ตัวอย่าง สื่อนิทาน เช่น นิทานเรื่อง “ประโยชน์ของผัก
มีเด็กนักเรียนห้องหนึ่งกินผักกันทั้งห้อง ทุกคนแข็งแรงมาก และก็มีเด็กนักเรียนอีก
ห้อง หนึ่งไม่กินผักเลย ทุกคนอ่อนแอมาก วันหนึ่งนักเรียนต้องแข่งขันเดินเร็วกัน นักเรียนห้องที่กินผักเดินชนะ เพราะแข็งแรง เดินไม่เหนื่อย ส่วนนักเรียนห้องที่ไม่กินผักเดินไปได้หน่อยก็เป็นลมล้มลงจึงแพ้

             8. เพลง
การร้องเพลง เป็นการจัดให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และ
เรียน รู้เกี่ยวกับภาษาและจังหวะ โดยให้เด็กฟังและร้องเพลงไปพร้อม ๆ กับครู เพลงที่นำมาให้เด็กร้อง ควรเลือกเนื้อเพลงง่าย ๆ และสั้น และควรให้เด็กได้เคลื่อนไหวท่าทางประกอบการร้องเพลง เปิดโอกาสให้เด็กแสดงท่าทางประกอบอย่างอิสระตามจินตนาการ
ตัวอย่าง สื่อเพลง เช่น เพลงรุ้งกินน้ำ
รุ้งเลื่อมลายงามงดงาม สีม่วงครามอีกงามน้ำเงิน
เขียวเหลืองเพลินดูน่าชม ช่างงามสมสีส้มแดง
             9. เกม
การเล่นเกม เป็นการให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เด็กได้เคลื่อนไหว
ร่าง กายส่วนต่าง ๆ เล่นและอยู่ร่วมกับเด็กอื่นได้ โดยเล่นเกมที่มีกติกาง่าย ๆ หรือเกมการละเล่นพื้นเมืองที่เหมาะกับวัย ก่อนเล่นครูต้องอธิบายกติกาและสาธิตให้เข้าใจ
ตัวอย่าง สื่อเกม เช่น เกมแมวจับหนู
วิธีเล่น - ให้เด็กนั่งเป็นวงกลม จับมือกัน
ให้เด็กออกมา คน คนหนึ่งสมมติเป็นแมว อีกคนหนึ่งสมมติเป็นหนู
สมมติให้คนที่นั่งเป็นถ้วยที่เก็บน้ำมันหมู
ให้เด็กคนที่เป็นแมวไปหาน้ำมันหมู
ให้เด็กคนที่เป็นหนูไปกินน้ำมันหมู
เด็กคนที่เป็นแมวถามเด็กคนที่นั่งเป็นวงกลมว่าน้ำมันหมูหายไปไหน
เด็กคนที่นั่งทั้งหมดตอบว่าหนูกินหมด
เด็กคนที่เป็นแมวถามว่า หนูหายไปไหน
เด็กคนที่นั่งทั้งหมดชี้ไปที่ตัวหนู
เด็กคนที่เป็นแมววิ่งไล่ตามหนู ถ้าวิ่งจับหนูได้ถือว่าจบเกม และผลัด
เปลี่ยนคนใหม่ต่อไป

             10. คำคล้องจอง
การท่องคำคล้องจอง เป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาในการฟัง พูด เด็กได้รับคาม
เพลิด เพลิน สนุกสนาน โดยให้เด็กฟังและท่องคำคล้องจองไปพร้อม ๆ กับครู คำคล้องจองที่นำมาให้เด็กท่องจำควรเลือกคำคล้องจองที่ง่าย ๆ และสั้น ควรให้เด็กได้เคลื่อนไหวท่าทางประกอบการท่องคำคล้องจอง เปิดโอกาสให้เด็กแสดงท่าทางประกอบอย่างอิสระตามจินตนาการ
ตัวอย่าง สื่อคำคล้องจอง เช่น คำคล้องจอง ประโยชน์ของดิน หิน ทราย
ดิน หิน ทราย ใช้ในการก่อสร้าง เป็นห้างร้านบ้านเรือนที่อาศัย
ทำถนนโรงเรียนวัดทั่วไทย ทำของใช้ปลูกต้นไม้ได้ดีเอย
             นอก จากวัสดุดังกล่าวข้างต้น ยังมีวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถจัดหาเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากนี้ได้ แล้วแต่ความสามารถของโรงเรียน เช่น กล้องจุลทรรศน์ หนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์ ลูกโลกและตัวอย่างหินแร่ต่าง ๆ และครูวิทยาศาสตร์ควรสำรวจและบันทึกรายการเหล่านี้ไว้ด้วย คือ แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งทรัพยากรบุคคลและสถานที่ที่จะนำมาให้เด็กได้เรียนรู้ ทรัพยากรบุคคล อาทิเช่น เจ้าหน้าที่เกษตรอนามัยบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่วนอุทยาน เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ เจ้าหน้าที่จากสมาคมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์ นักกีฏวิทยา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มสัตว์ต่าง ๆ ส่วนสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิเช่น สวนสัตว์ วนอุทยาน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้อาจจะมีการร่วมมือกับโรงเรียนมัธยม หรืออุดมศึกษาในท้องถิ่น ที่จะขอนักเรียนระดับโตมาควบคุมและทำงานด้านวิทยาศาสตร์กับเด็กทั้งในและนอก ห้องเรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2556
       วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์  มีเพื่อนๆออกไปนำเสนอดังนี้
  
 1. กระดาษกับไม้บล็อค
 2.ช็อกสลายตัว
 3. ลูกโป่งในขวด 
 4. ตะเกียบหรรษา
 5.กีะป๋องบุบ
 6. อากาศต้องการที่อยู 
 7.ลูกโป่งน้ำโซดา   ของดิฉัน



การทดลอง:ลูกโป่งน้ำโซดา

นำเสนอหน้าชั้น

1.เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะคุณครูบ้างคะ ..." เด็กตอบ "  แล้วหยิบยกสิ่งนั้นมาวางไว้ข้างหน้า เริ่มจากขวามือ
2.แล้วสิ่งเหล่านี้เราสามารถเอามาทำอะไรได้บ้างค่ะ (ทบทวนความรู้เดิมจากเด็ก)
3.คะ เดี๋ยวเรามาทดลองกันน่ะคะ
4.เปิดฝาขวดแล้วเอาลูกโป่งใส่ไปในปากขวดให้แน่น   (แล้วถามเด็กว่า) ถ้าคุณครูเขย่าขวด "เด็กๆคิดว่าลูกโป่งจะเกิดอะไรขึ้น"
5.เด็กๆคอยสังเกตลูกโป่งดูน่ะคะ
6.(เด็กๆตอบตามที่ตาเห็นว่าลูกโป่งมันพองมันใหญ่ขึ้น) เด็กๆเห็นลูกโป่งมันพอง เด็กๆคิดว่ามันเป็นเพราะอะไรเด็กๆรู้ไหมคะ  ....(เด็กแต่ละคนก็จะตอบตามความคิดของเค้า)
7.คะ ที่ลูกโป่งมันพองใหญ่ขึ้น  เพราะว่า  เกิดจากแรงดัน  เพราะในน้ำโซดามีกรดคาร์บอนิกละลายอยู่เต็มไปหมด เมื่อถูกเขย่าหรือโโนความร้อน กรดคาร์บอนิกก็จะสลายตัวและดันให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ออก  จึงทำให้ลูกโป่งมันพองใหญ่ขึ้น 






 
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2556

วันที่ 17 สิงหาคม 2556

เวลา 14.10-17.30น.

** เรียนชดเชย  เนื่องจากหยุด วันแม่ **

  •  นักศึกษา ที่ยังทำของเล่นเข้ามุมไม่เสร็จ อาจารย์ให้จับกลุ่ม  2-3 คนและให้นักศึกษาเลือกกล่องที่เตรียมไว้ให้ซึ่งมีหลายขนาด กลุ่มละ 1 กล่อง เพื่อประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม 
 นักศึกษานำการทดลองที่เตรียมมา

 

     
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9



วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556

      

  
 วันแม่แห่งชาติ 2556 กลอนวันแม่
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ 2555
12 สิงหาของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติไทย


ความหมายของคำว่า "แม่"
     คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของ ทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น
วันแม่แห่งชาติ รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก
พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
     วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อ ลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ
วันแม่แห่งชาติ ใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์
ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่
ดอกมะลิดอกไม้ประจำวันแม่

ชื่อ :
มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :
Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :
OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป :
เป็น พรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :
เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี



ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำวันแม่

มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น “รัก” บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย “กราบแม่” พร้อมน้อมบูชา
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน 
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง  
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

*คำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา